( เรื่องราวในบทความนี้เป็นเหตุการณ์ไฟป่าออสเตรเลียซึ่งเกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2020 นี้ ไม่ใช่สถานการณ์ปัจจุบันแต่อย่างใด )
หมีโคอาล่านับพันต่างหวาดกลัวที่จะต้องมอดไหม้ไปกับไฟป่าที่กำลังลุกลามข้ามรัฐต่อรัฐในออสเตรเลีย ทำให้ประชากรหมีโคอาล่าลดลงจนถึงขีดสุด 😱🔥☠️
หมีโคอาล่านั้นอ่อนไหวบอบบางต่อไฟป่าเป็นอย่างมากเนื่องจากพวกเขาเคลื่อนที่ได้ช้าและชอบอาศัยอยู่บนต้นยูคาลิปตัสซึ่งลุกไหม้ได้เร็วและแรงมาก ดังนั้น เมื่อเปลวไฟเผาบ้านของพวกเขาวาดวายพวกเขาก็มักจะไม่มีเวลาหลบหนีจึงทำให้โดนเผาทั้งเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ ไฟเรือนยอด “ ซึ่งจะเผาไหม้ยอดต้นไม้จากต้นหนึ่งไปอีกต้นซึ่งเป็นที่ๆพวกเขาอาศัยอยู่ 🔥🌲
หมีโคอาล่าสามารถมีชีวิตรอดได้เป็นสัปดาห์บนต้นไม้แม้ว่าจะโดนไฟลวก หรือ สูดดมควันไฟ และยังมีอีกหลายตัวที่ยัง “ ถูกตัดขาด “ อยู่ในพื้นที่ไฟไหม้โดยที่บ้านและแหล่งอาหารของพวกเขาถูกทำลาย
ทีมค้นหาและกู้ภัยกำลังพยายามระบุที่อยู่ของหมีโคอาล่าที่ยังรอดชีวิต แต่ก็เป็นความท้าทายครั้งใหญ่เพราะหมีโคอาล่าเนื่องจากอำพรางตัวได้กลมกลืนกับยอดต้นไม้จึงทำให้มองเห็นได้ยากด้วยตามนุษย์ ด้วยเหตุนี้ เจ้าตูบ “ แบร์ “ สุนัขพันธุ์ บอร์เดอร์ คอลลี่ นัก “ ดมกลิ่น “ ของทาง IFAW ( กองทุนนานาชาติเพื่อสวัสดิภาพสัตว์ ) ถึงคราวออกโรงครับ 🐶✌🏻💪🏻👌🏻
เจ้าตูบ “ แบร์ “ นี้เป็นส่วนหนึ่งของทีมสุนัขนักสืบของศูนย์อนุรักษ์ประจำมหาวิทยาลัยซันไชด์ โคส เขาได้รับการฝึกฝนทักษาการตรวจจับหมีโคอาล่าด้วยการดมกลิ่นขน เขาเป็นเจ้าตูบกู้ภัย ดังนั้น เขาจึงมีธรรมชาติที่พุ่งสมาธิเต็มที่กับเป้าหมายข้างหน้าและไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยซึ่งเขาอาจไม่เหมาะที่จะเป็นสัตว์เลี้ยงแต่เหมาะที่จะยอดตูบนักสืบครับเช่นเดียวกับสุนัขตัวอื่นๆในศูนย์ครับ
เมื่อวันศุกร์ ( ตามเวลาในบทความ ) เจ้าตูบแบร์และผู้ดูแลประจำตัว รีอันน่า ได้เข้าร่วมภารกิจค้นหาและกู้ภัยในแถบ นอร์ทเทริน์ รีเวอร์ พวกเขาได้ออกตระเวนค้นหาพร้อมด้วยเพื่อนร่วมงานจากองค์กร เฟรนด์ ออฟ เดอะ โคอาล่า ในเขต งุนย่า จาร์กูน ซึ่งเป็นพื้นที่สงวนของชนพื้นเมืองซึ่งถูกทำลายโดยไฟป่ากวาดเรียบตลอดเดือนที่แล้ว
ผู้ดูแลป่าที่เป็นคนพื้นเมืองอาวุโส แกรนท์ โร้ด มีทีมงานที่คอยดูแลปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและจุดสำคัญทางวัฒนธรรมแห่งนี้ เขายินดีที่ช่วยนำทางหน่วยกู้ภัยไปตามสถานที่นี้พร้อมกับนักค้นคว้าวิจัยชาวท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่กู้ภัย มาเรีย แม็ทเทส ผืนป่า , ป่าฝน และต้นยุคาลิปตัสที่กว้างใหญ่กว่า 1000 เฮกเตอร์ ( 10 ล้าน ตารางเมตร ) เป็นเป็นเขตฉนวนที่สำคัญและเป็นที่อยู่อาศัยของหมีโคอาล่าประมาณ 20-40 ตัว ก่อนเกิดไฟป่านั้น สถานที่แห่งนี้เป็นพื้นที่พึ่งพิงและเป็นสายใยชีวิตของสิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์เคยได้รับผลกระทบจากการพัฒนาที่ดินในละแวกใกล้เคียง แต่พอมาตอนนี้มันได้ดำเป็นตอตะโกและกลายเป็น “ เตาเผาศพ “ ขนาดใหญ่ที่ค่อยๆเผาไหม้พื้นที่อย่างช้าๆไปกว่า 85% แล้ว
ก่อนหน้านั้น แกรนท์ และ มาเรีย ได้ช่วยชีวิตหมีโคอาล่า 2 ตัวจากไฟป่า ซึ่งต่อมาได้ตั้งชื่อพวกเขาทั้ง 2 ว่า “ จาลู ” และ “ คาจิก้า “ พวกเขากำลังในระหว่างการ “ ย้ายถิ่น “ ที่อยู่ คาจิก้านั้นอยู่ในความดูแลของพยาบาลสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก IFAW , มาร์เลย์ คริสเตียน , ที่องค์กร เฟรนด์ ออฟ เดอะ โคอาล่า ถ้าหากทางองค์กรสามารถจัดหาพื้นที่อยู่อาศัยใหม่ที่เหมาะสมได้แล้วก็จะได้รับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติทันทีครับ
เมื่อเร็วๆนี้ มาเรีย ได้ค้นพบหมีโคอาล่าที่ยังมีชีวิตอยู่อีก 3 ตัวรวมทั้งลูกหมีโคอาล่าอีกตัว ( ตัวผู้ ) ที่มีผลไฟไหม้เล็กน้อยบนต้นไม้ เธอพยายามยามวางกับดักจับตัวไว้แต่เขาก็ดันหนีไปได้ ดังนั้น จึงต้องให้เจ้าตูบแบร์ สุนัขกู้ภัยออกโรง 🐶💪🏻✌🏻👌🏻
เนื่องจากมีกระแสลมพัดแรงถึง 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจึงทำให้เป็นอุปสรรค์ต่อเจ้าตูบแบร์ในการดมกลิ่นติดตาม แต่เขาก็ยังสามารถระบุที่อยู่ของหมีโคอาล่าได้หลายตัวในหลายจุด ต้องขอบคุณเจ้าตูบ แบร์ ที่ทำให้ทางทีมงานกู้ภัยสามารถรู้ถึงตำแหน่งของหมีโคอาล่าที่ยังมีชีวิตอยู่ได้แล้วจะดำเนินการช่วยเหลือหมีโคอาล่าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ 🐨🤲🏻♥️
แปลจากบทความที่ลงใน White Wolf Pack
http://www.whitewolfpack.com/2019/11/hero-border-collie-named-bear-braves.html
หากสนใจการทำงานของหน่วยช่วยเหลือกู้ภัยสัตว์ป่า IFAW เชิญมาที่ลิงค์นี้ได้ครับ