เมื่อไม่นานมานี้ ดร.เคทีย์ ลาบาร์บาร่า ผู้ซึ่งนักนิเวศวิทยาเชิ่งพฤติกรรม และ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับนก และ จบปริญญาเอกด้านชีววิทยาผสมผสาน ได้ยินเสียงเพื่อนบ้านพูดกันข้างนอก
พวกเขาเจอปัญหาสตาร์ทรถไม่ได้แล้วกำลังพยายามหาสาเหตุอยู่ แล้วเมื่อเปิดฝากระโปรงหน้ารถ เพื่อนบ้านของบาร์บาร่าต้อง “ ผงะ “ เมื่อพบว่ามีกระรอกทำรังอยู่ภายใน “ เครื่องยนต์ “ ของ รถยนต์ 😨🐿🚗
บาร์บาร่าจึงรีบออกไปข้างนอกไปเสนอตัวให้ความช่วยเหลือ เธอมีความคุ้นเคยกับสัตว์ตัวน้อยๆเป็นอย่างดีจึงกลับกลายเป็น “ ปฏิบัติการช่วยเหลือสัตว์ “ ซึ่งเธอสามารถช่วย “ หาที่อยู่ใหม่ “ เข้าป่าได้อย่างราบรื่น และได้เผยแพร่เรื่องราวที่น่าประทับใจนี้ในทวิตเตอร์ ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานก็โด่งดังอย่างมากผู้คนมากมายต่างล้วนยินดีที่เรื่องราวจบลงด้วยดี
อย่าเพิ่งให้ภาพที่เห็นหลอกตานะครับ ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วกระรอก “ ทำรัง “ โดยใช้วัสดุทุกอย่างที่เจอ โครงสร้างของรังนั้นกลับดูซับซ้อนมากกว่าที่เห็น พวกกระรอกจะเริ่มวางกิ่งไม้เรียงกันเป็นรูป “ ตะกร้า “ ที่เป็นรากฐานของรัง แล้วจะหาวัตถุที่นุ่มและรองรับได้ เช่น ใบไม้เปียก และ ตะไคร่น้ำ หลังจากนั้นกระรอกก็จะทำโครงข่ายกิ่งไม้รอบนอกอีกชั้นเพื่อให้รองรับตัวเองได้มากขึ้นและเติมใบไม้และวัสดุนุ่มๆเพื่อ “ ปิดช่องว่าง “ หรือ “ อุดรูรั่ว “ ด้วยครับ 🌿🍀😎
ในการที่จะทำตาม “ พิมพ์เขียว “ ของการสร้างรังนี้ เหล่ากระรอกจำเป็นต้องมีวัสดุที่แข็ง , อ่อน , ทนทาน และ งอได้ พวกเขาจะรวบรวมกิ่งไม้ , ตะไคร่น้ำ , กระดาษ , เศษขยะ , เถาวัลย์ และ วัสดุอื่นๆที่จะพอใช้ได้ กระรอกนั้นจะหมั่นหาวัสดุก่อสร้างที่ใช้งานได้ดีอยู่เสมอ เหมือนกับ การที่ไม่หยุดหาอาหารนั่นเองครับ
ลาบาร์บาร่า สังเกตุเห็นกระรอกก่อนเลยเพราะเธอ ( ตัวเมีย ) ดูผอมมากแล้ว “ ขนหาย “ ไปมาก จึงทำให้สังเกตุเห็นได้ง่าย “ เธอมักจะอยู้ข้างๆต้นไม้ภายนอกหน้าต่างอพาต์เม้นต์ของดิฉันค่ะ และ อยู่ใต้รถที่จอดอยู่ถัดจากต้นไม้ “ นักชีววิทยาหญิงผู้นี้กล่าวแก่ทาง Bored Panda “ ดิฉันได้เริ่มโรยเมล็ดทานตะวันทิ้งไว้ให้เพราะเข้าใจว่าเธอคงต้องการอาหาร “ 🧆🤲🏻
คุณแม่กระรอกนั้นมีสถานที่อื่นที่จะ “ ย้าย “ ลูกๆของเธอไปอยู่แล้ว เนื่องจากกระรอกนั้นมักจะเดินทางไกลไปตามจุดให้อาหารนก หรือ ไปตามสวน เป็นประจำ ดังนั้น พวกเขาจึงมักจะมีรังแห่งที่ 2 และ แห่งที่ 3 เผื่อไว้เสมอใกล้ๆกับ “ รังหลัก “ ในระยะห่างที่แตกต่างกัน กระรอกนั้นจะใช้ “ รังสำรอง “ ของพวกเขาในกรณีฉุกเฉิน อย่างเช่น ใช้ในกรณีที่จำเป็นต้อง “ หลบซ่อน “ ตัวจากสัตว์ที่จะมาล่าพวกเขา , กักตุนอาหาร หรือ ใช้เป็น “ ศาลาพักใจ “ พักผ่อนในเวลาที่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย
ตอนนี้กระรอกทุกตัวปลอดภัยแล้ว ลาบาร์บาร่าได้นำเอาพวกเขาลงกล่อง 2-3 กล่อง “ หลังจากนี้ไปหากคุณจอดรถทิ้งไว้นานเป็นสัปดาห์ กรุณาเปิดฝารถ ตรวจเช็คให้ดี ไม่งั้นคงมีกระรอกมาทำรังบนรถคุณค่ะ “ เธอกล่าว
เธอได้เน้นย้ำว่าเธอเคยได้ยินเรื่องราวมากมายของผู้คนที่พบเจอลูกแมวอยู่ใต้ฝากระโปรงรถ ดังนั้น มันจึงไม่ได้มีเพียงแค่กระรอกเท่านั้นที่เราควรช่วย
“ ถ้าหากคุณพบเจอทารกสัตว์ กรุณาติดต่อเว็ปไซด์ของโรงพยาบาลที่ช่วยหาที่อยู่ใหม่ให้สัตว์ป่า หาเบอร์โทรติดต่อขอคำแนะนำก่อนที่คุณจะช่วย “ ลาบาร์บาร่าแนะ “ สิ่งที่สำคัญ คือ เราต้องให้เวลาให้คุณพ่อคุณแม่สัตว์นั้นจัดการสถานการณ์ด้วยตัวเอง อย่างเช่น คุณแม่กระรอกตัวนี้ แล้วเรื่องราวนี้ได้เตือนให้ดิฉันระลึกว่า เหล่าคุณแม่สัตว์ทั้งหลายนั้นเข้มแข็งมากเพียงไร คุณแม่กระรอกตัวนี้กล้าหาญมากๆ ในวิดีโอตอนที่ดิฉันวางทารกกระรอกลงบนพื้น พอคุณแม่กระรอกเข้ามาหาทารกกระรอกตัวนั้นก็ร้องขึ้นมาเลยค่ะ “
แปลจากบทความที่ลงใน White Wolf Pack
http://www.whitewolfpack.com/2020/04/woman-finds-squirrel-and-her-babies.html
ถ้าหากทุกท่านสนใจคุณ ลาบาร์บาร่า และเรื่องราวอื่นๆของเธอ เข้าไปติดตามได้ในทวิตเตอร์ได้ครับ ( ชื่อผู้ใช้ คือ Dr. Katie )