การเป็นสัตวแพทย์นั้นยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคนไข้ไม่สามารถอธิบายอาการอาการป่วยของตัวเองได้อย่างชัดเจน และเมื่อต้องเจอกับตารางนัดพบที่แน่นขนัด , สัตว์เลี้ยงที่คุมได้ยาก แล้วต้องมาวินิจฉัยโรคให้แก่สัตว์นานาชนิด ชีวิตของการเป็น สัตวแพทย์ คงเต็มไปด้วยความตึงเครียดน่าดู ดังนั้น ก่อนที่เราจะนัดพบ เราควรจะอำนวยความสะดวกให้สัตวแพทย์ช่วยสัตว์เลี้ยงของเราได้ง่ายขึ้น ด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ควรทำที่จะไปเพิ่มภาระและความเครียดแก่สัตวแพทย์ดังต่อไปนี้ครับ
1. การไม่คุมสัตว์เลี้ยงให้ดี 😾
สัตว์เลี้ยงที่ควบคุมยากนั้นจะถ่วงให้การไปพาไปพบ สัตวแพทย์ นั้นช้าลงและเสียเวลาอันมีค่าไปมาก ในแต่ละวันสัตวแพทย์นั้นต้องเจอกับสัตว์ต่างๆมากมายอยู่แล้ว แล้วการที่ต้องมาสู้รบปรบมือกับสัตว์เลี้ยงที่มานั้นเป็นสิ่งที่สัตวแพทย์ไม่อยากเจอที่สุดครับ ดังนั้น เพื่อที่จะเตรียมการสัตว์เลี้ยงของคุณสำหรับการนัดพบแพทย์ที่ราบรื่น ควรที่จะนำพาสัตว์เลี้ยงของคุณไปทำความรู้จักคุ้นเคยกับสถานที่ซัก 2-3 ครั้ง ก่อนครับ
ดร. Jessica Downing ซึ่งเป็นสัตวแพทย์ฉุกเฉินที่ โรงพยาบาลสัตว์ Valley Cottage ที่ New York ได้แนะนำว่า “ ให้พยายามเอาสัตว์เลี้ยงของคุณไปเข้าสังคมในแบบที่เคร่งครัดหน่อย แล้วทำให้การไปเยี่ยมดูเป็นมิตรมากขึ้นด้วยการเอาขนมไปให้ ไปเยี่ยมพนักงานที่แผนกรับเรื่องอย่างเป็นมิตร และ ฝึกจับวางลูกหมา หรือ ลูกแมวของคุณขึ้นลงจากโต๊ะตรวจ ซึ่งจะให้การไปพบแพทย์นั้นสบายๆเป็นกันเองค่ะ “
2. การที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่เตรียมตัวล่วงหน้า 😧
สิ่งที่สำคัญมากที่สุด คือ ต้องเตรียมประวัติทางการแพทย์ของสัตว์เลี้ยงคุณพร้อมกับข้อมูลที่อัพล่าสุด เพราะกว่าจะนั่งรอจนกระทั่งหมอเรียกเข้าพบแล้วยื่นเอกสารประวัติการแพทย์นั้นมันใช้เวลานานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากสัตว์เลี้ยงต้องหาสัตวแพทย์มากกว่า 1 คน ซึ่งสิ่งที่ง่ายๆนี่แหละที่จะช่วยให้สัตวแพทย์ไม่ต้องมานั้งปวดหัวทีหลัง
Crystal Morrin ผู้เชี่ยวชาญจักษุวิทยาจากศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ฉุกเฉินที่ Langhorne รัฐ Pennsylvania ได้กล่าวว่า “ แม้กระทั่งลายมือที่อ่านไม่ออกในประวัติการแพทย์ของสัตว์เลี้ยงคุณยังสามารถถ่วงให้กระบวนการพบแพทย์ช้าลงได้ ดังนั้น มันจึงสำคัญที่คุณจะต้องเตรียมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ “
ข้อมูลที่ชัดเจนของประวัติการแพทย์สัตว์เลี้ยงคุณจะเป็นประโยชน์และช่วยได้มาก ดังที่ ดร. Jessica Downing ได้กล่าวต่อว่า “ ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน , การใช้ยารักษา และ การผ่าตัดครั้งก่อนๆที่ผ่านมานั้นจะช่วยได้มาก ซึ่งจะช่วยให้สัตวแพทย์สามารถรู้ได้ว่าสัตว์เลี้ยงของคุณจะต้องฉีดวัคซีน , เอาตัวอย่างตรวจในห้องแล็ป หรือ ให้ยาอะไรบ้าง ระหว่างการไปพบหมอ ซึ่งจะช่วยให้ทุกอย่างรวดเร็วขึ้น “
3. การให้คนอื่นเอาสัตว์เลี้ยงไปหาสัตวแพทย์แทน
ไม่มีใครจะรู้จักสัตว์เลี้ยงของคุณดีเท่ากับตัวคุณเอง ดังนั้น การที่ตัวคุณนำสัตว์เลี้ยงไปหาหมอด้วยตัวเองแล้วตอบคำถามหมอด้วยตัวเองจะช่วยให้ทุกอย่างราบรื่น หากคุณเป็นเจ้าของคนแรก พยายามนำเอาสัตว์เลี้ยงไปหาหมอด้วยตัวเอง ถ้าหากจำเป็นต้องให้เพื่อน หรือ ครอบครัวไปพาหาจริงๆ ก็ต้องแน่ใจว่าพวกเขารู้รายละเอียดและอาการป่วยของสัตว์เลี้ยงคุณเป็นอย่างดี
ดร. Jessica Downing ได้กล่าวว่า “ รายละเอียดที่สำคัญ อย่างเช่น อาหารที่สัตว์เลี้ยงคุณกิน , พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของสัตว์เลี้ยง หรือ สิ่งที่สัตว์เลี้ยงเจอ ข้อมูลเหล่านี้ให้คนที่ใช้เวลาอยู่กับสัตว์เลี้ยงคุณ มากที่สุดเป็นคนตอบจะดีที่สุด ตัวคุณเองเป็นคนที่เลี้ยงดูมัน , เล่นกับมัน และ คอยตอบสนองสิ่งที่มันต้องการทุกวัน ดังนั้น คุณจึงเป็นคนทีรู้จักชีวิตมันในแต่ละวันมากที่สุด “
4. การผัดวันประกันพรุ่งในการไปหาหมอ 🤤
ถ้าหากมีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงของคุณ ควรจะรีบนัดหมอให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากยื้อเวลาไปหาหมอจะส่งผลให้สัตว์เลี้ยงคุณมีอาการแย่ลง และ จะรักษาได้ยากขึ้นเรื่อยๆ แล้วอย่ายัดเอาปัญหาทุกอย่างไปใส่ในการหาหมอในครั้งเดียว 😑
ดร. Downing กล่าวว่า “ ในการที่จะแจ้งปัญหาสุขภาพของสัตว์เลี้ยงคุณได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพนั้น ไม่ควรที่จะรอจนถึงวันตรวจสุขภาพประจำปีแล้วเพิ่งมาแจ้งปัญหาสุขภาพแก่ สัตวแพทย์ ควรจะกันไว้ดีกว่าแก้ในการจัดการปัญหาสุขภาพสัตว์เลี้ยงค่ะ “
5. การละเลยไม่อ่านข้อปฏิบัติหลังเสร็จสิ้นการพบแพทย์
ถ้าหากสัตว์เลี้ยงของคุณเสร็จสิ้นการพบแพทย์โดยที่มีการให้ยาใหม่ หรือ มีหมายนัดมาตรวจครั้งถัดไป ควรจะอ่านรายละเอียดข้อปฏิบัติหลังการรักษาให้ดีก่อนกลับบ้าน ถ้าหากมีอะไรที่ไม่เข้าใจก็ให้รีบถามหมอโดยทันที
Morrin ได้อธิบายว่า “ ข้อปฏิบัติหลังการรักษาจะระบุถึงคำแนะนำเกี่ยวกับการรักษา และ ย้ำผลการวินิจฉัย รวมถึงระบุขั้นตอนการรักษาขั้นต่อๆไป พยายามเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ในที่ๆปลอดภัยและใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วย สัตวแพทย์ อย่างเราได้มากเท่านั้น แต่ยังทำให้คนไข้ ( เจ้าของสัตว์เลี้ยง ) เข้าใจตรงกันกับเราด้วยเช่นกัน “
แปลจากบทความของ John Plichter ลงใน PET MD
https://www.petmd.com/dog/slideshows/5-common-things-drive-veterinarians-crazy